Last updated: 11 ต.ค. 2565 | 329 จำนวนผู้เข้าชม |
1. ระบบเบรค
สำหรับระบบเบรคของรถยนต์มีอยู่ 2 แบบ “ดิสก์เบรก” กับ “ดรัมเบรก” แต่ไม่ว่าจะเป็นระบบเบรคไหน ก็ไม่ถูกกับน้ำอยู่ดี เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า น้ำกับโลหะเมื่อมาเจอกัน จะทำให้โลหะเกิดสนิม ทำให้เบรคติดขัด ส่วนน้ำมันเบรกเกิดความชื้น ทำให้เบรคลื่น เบรคไม่อยู่และเกิดอุบัติเหตุได้
2. ลูกปืนล้อ
โดยปกติแล้ว ลูกปืนล้อ หากถูกแช่น้ำนานๆ อาจต้องทำใจไว้ ลูกปืนจะพังเร็ว สังเกตอาการได้จากเสียง ลูกปืนล้อจะดังขึ้นเวลาวิ่งความเร็วสูงๆ เพราะจารบีที่คอยหล่อลื่นภายในลูกปืนได้หายไปกับน้ำ หรืออาจจะเสื่อมคุณภาพแล้วเมื่อถูกน้ำ แต่ถ้าเป็นการขับรถวิ่งผ่านน้ำเฉยๆ จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่อย่างไรก็ควรเช็คอาการกันไว้ก่อน
3. เพลาขับและเฟืองท้าย
ใครที่ขับรถลุยน้ำแบบมิดใต้ท้อง ต้องเช็คสิ่งนี้ด่วน! ชุดเพลาขับและเฟืองท้าย เป็นอุปกรณ์ที่สุ่งเสี่ยงต่อการน้ำเข้า ถ้ายางหุ้มเพลาเสื่อมฉีกขาด มีโอกาสน้ำเข้าไปชะจาระบีที่อยู่ภายในสูงพอตัว ส่วนเฟืองท้าย น้ำสามารถเล็ดเข้าไปให้ในท่อหายใจของน้ำมันเฟืองท้ายได้ หลังขับรถลุยย้ำมาแล้วให้เช็คเสียง หากชุดเพลามีปัญหาจะมีเสียงดังออกมา โดยแก้ด้วยการทาจารบีใหม่ เปลี่ยนยางหุ้มเพลาใหม่ และเปลี่ยนถ่ายของเหลว
4. ระบบปรับอากาศ
ขับรถลุยน้ำขังบ่อยๆ อาจทำให้น้ำเข้ามาในรถแบบไม่รู้ตัว จนเกิดเป็นความชื้น ส่งกลิ่นเหม็นสาปภายในรถยนต์ ถึงแม้รถเราจะไม่ได้จมน้ำ แต่กลิ่นไม่พึงประสงค์นี้ก็ไม่ได้ทำให้รถเราต่างอะไรออกไป ฉะยั้ยเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจน้ำท่วมอย่าลืม ไปหาโอกาสกำจัดกลิ่นในระบบแอร์บ้าง
5. น้ำมันเครื่อง
มาถึงสิ่งสุดท้ายที่ควรเช็ค คือ น้ำมันเครื่อง ว่ามีน้ำผสมอยู่หรือไม่ โดยการดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาเพื่อดูเนื้อของตัวน้ำมัน ถ้าเป็นเนื้อเดียวกันแสดงว่าไม่มีน้ำผสม แต่ถ้าดูแล้วน้ำมันเครื่องเป็นสีออกน้ำตาลๆ หรือแยกชั้นระหว่างน้ำกับน้ำมัน แสดงว่า น้ำได้เข้าไปรวมกับน้ำมันเครื่องแล้ว ต้องนำรถไปเปลี่ยนน้ำมันเครื่องพร้อมไส้กรองใหม่ทั้งหมดทันที